วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่1

 



คำนิยามที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
 
 
1.พยาน คือเป็นหลักฐานที่สามารถใช้นำสืบข้อเท็จจริง ประกอบกับการดำเนินคดีทางศาลและมีอยู่ สามประเภทได้แก่ พยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ
2.หมิ่นประมาทคือผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง
3.คดีทางอาญา คือเป็นคดีที่เกี่ยวกับเรื่องสิทธิเสรีภาพ ชีวิตและร่างกาย ทรัพย์สิน
4.กฎกระทรวง คือ เป็นบทบัญญัติที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติ หรือบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีฐานะเท่าพระราชบัญญัติ เป็นต้นว่า ประมวลกฎหมาย พระราชกำหนด, เดิมเรียกว่า กฎเสนาบดี
5.ข้อบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
องค์กรปกครองบริหารส่วนท้องถิ่นของประเทศไทย ปัจจุบัน 5 รูปแบบ คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา ต่างก็มีกฎหมายจัดตั้งองค์กรแต่ละประเภทให้อำนาจองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในการออกข้อบัญญัติเพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดทำบริการสาธารณะ
6.พระราชบัญญัติ
คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา เนื้อหาของพระราชบัญญัตินั้นจะกำหนดเนื้อหาในเรื่องใดก็ได้ แต่ต้องไม่ขัดหรือ แย้งกับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญทั่วไป เรียกว่า ประเพณีการปกครองของประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย นอกจากนี้เนื้อหาของพระราชบัญญัติยังมีลักษณะกำหนดกฎเกณฑ์เป็นการทั่วไปในการก่อตั้ง เปลี่ยนแปลง กำหนดขอบเขตแห่งสิทธิและหน้าที่ของบุคคล ตลอดจนจำกัดสิทธิเสรีภาพ ของบุคคลได้ตามที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้
7. กฎหมายรัฐธรรมนูญ คือระเบียบว่าด้วยการใช้อำนาจรัฐหรืออำนาจอธิปไตย ด้วยเหตุนี้กฎหมายรัฐธรรมนูญจึงหมาย ถึงเป็นกฎเกณฑ์แบบแผนเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐว่ามีองค์กรอะไรบ้าง เช่น ประมุขแห่งรัฐ คณะรัฐมนตรี รัฐสภา ศาลเป็นต้น และองค์กรเหล่านั้นมีอำนาจหน้าที่อย่างไร มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน รวมทั้งตลอดถึงความสัมพันธ์กับประชาชนในฐานะเป็นพลเมืองของรัฐอย่างไรบ้าง สำหรับรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตยจะต้องรับรอง และประกันสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของประชาชนด้วย
8.ประมวลกฎหมาย คือ บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่รวบรวมกฎหมายในลักษณะ เดียวกันไว้เป็นระบบตามหลักวิชาการ เช่น ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลรัษฎากร
 
9.แถลงการณ์  คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำความเข้าใจ ในกิจการของทางราชการหรือเหตุการณ์หรือกรณีใด ๆ ให้ทราบ ชัดเจนโดยทั่วกัน. ก. อธิบายเหตุการณ์เป็นทางการ
10.ระเบียบ คือ แบบแผนที่วางไว้เป็นแนวปฏิบัติหรือดําเนินการ เช่น ระเบียบวินัย ระเบียบข้อบังคับ ต้องปฏิบัติ
แหล่งข้อมูล http://rirs3.royin.go.th
 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น