วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 2

นักศึกษาอ่านรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 แล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้

1.ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรที่น่าสนใจ
ตอบ  มาตรา 30บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกันการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่นย่อมไม่ถือเป็นกาเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม

          มาตรา 31 บุคคลผู้เป็นทหาร ตำรวจ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ และ
พนักงานหรือลูกจ้างขององค์กรของรัฐ ย่อมมีสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับบุคคล
ทั่วไป เว้นแต่ที่จำกัดไว้ในกฎหมายหรือกฎที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะ
ในส่วนที่เกี่ยวกับการเมือง สมรรถภาพ วินัย หรือจริยธรรม

 
2.สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง
   ตอบ    ส่วนที่ 8    สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา


มาตรา 49    บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น
การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
มาตรา 50    บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการการศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
3.ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง
  มาตรา 302ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังต่อไปนี้มีผลใช้บังคับต่อไป
ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้ในมาตรานี้

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ..
๒๕๔๒ โดยให้ประธานผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
- พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการ
ทุจริต .. ๒๕๔๒ โดยให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นผู้
รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
- พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน .. ๒๕๔๒
โดยให้ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
- พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรง
ตำแหน่งทางการเมือง .. ๒๕๔๒ โดยให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญนี้ให้ถือว่าการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญโดยพระราชบัญญัติที่ได้ประกาศใช้บังคับในระหว่างวันที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช๒๕๔๙


4.ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยให้นักศึกษาบอกเหตุผลประกอบการอภิปราย


ตอบ เพราะเพื่อใช้เป็นแนวทางในการรักษาสิทธิเสรีภาพของตนเอง เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนั้นเกิดขึ้นได้ต้องให้ประชาชนเห็นชอบ

5.นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่มจึงคัดค้าน ขอให้นักศึกษาบอกถึงเหตุผลที่จะต้องแก้ไข
ตอบไม่เห็นด้วย  เพราะกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในปกครองประเทศ ก่อนจะเป็นรัฐธรรมนูญก็ผ่านขั้นมากมายทั้งประชาชานทุคนไม่น่าจะแก้ไขอีก สมควรแล้วที่ประชาชนคัดค้านในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ


6.ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร์ สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร มีความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ขอให้นักศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว

    ตอบ มีภาวะที่ดำรงเห็นแก่ประโยชน์ของตัวเองและพวกพ้องไม่เห็นประโยชน์ของประเทศชาติ
และไม่มีความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองมั่วแต่หาประโยชน์ใส่ตัวเองไม่สนใจว่าบ้านเมืองจะอยู่อย่างไร และการบริหารงานวุ่นวาย


วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


แนะนำตนเอง

                                                 
 
 ชื่อ นางสาว นิภาพร        นามสกุล บูรพิศ

ชื่อเล่น  ถั่วเขียว
รหัสประจำตัวนักศึกษา : 5211114016

                                  ประวัติการศึกษา

จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2545 โรงเรียนบ้านบางรูป

จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2548 โรงเรียนทุ่งสังพิทยาคม

จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนทุ่งสังพิทยาคม

กำลังศึกษาอยู่คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นปี่ที่ 4
 มหาวิทยาลัยราชภํัฏนครศรีธรรมราช





คติประจำใจ:  ฝันให้ไกลไปให้ถึง



 

กิจกรรมที่1

 



คำนิยามที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
 
 
1.พยาน คือเป็นหลักฐานที่สามารถใช้นำสืบข้อเท็จจริง ประกอบกับการดำเนินคดีทางศาลและมีอยู่ สามประเภทได้แก่ พยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ
2.หมิ่นประมาทคือผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง
3.คดีทางอาญา คือเป็นคดีที่เกี่ยวกับเรื่องสิทธิเสรีภาพ ชีวิตและร่างกาย ทรัพย์สิน
4.กฎกระทรวง คือ เป็นบทบัญญัติที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติ หรือบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีฐานะเท่าพระราชบัญญัติ เป็นต้นว่า ประมวลกฎหมาย พระราชกำหนด, เดิมเรียกว่า กฎเสนาบดี
5.ข้อบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
องค์กรปกครองบริหารส่วนท้องถิ่นของประเทศไทย ปัจจุบัน 5 รูปแบบ คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา ต่างก็มีกฎหมายจัดตั้งองค์กรแต่ละประเภทให้อำนาจองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในการออกข้อบัญญัติเพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดทำบริการสาธารณะ
6.พระราชบัญญัติ
คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา เนื้อหาของพระราชบัญญัตินั้นจะกำหนดเนื้อหาในเรื่องใดก็ได้ แต่ต้องไม่ขัดหรือ แย้งกับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญทั่วไป เรียกว่า ประเพณีการปกครองของประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย นอกจากนี้เนื้อหาของพระราชบัญญัติยังมีลักษณะกำหนดกฎเกณฑ์เป็นการทั่วไปในการก่อตั้ง เปลี่ยนแปลง กำหนดขอบเขตแห่งสิทธิและหน้าที่ของบุคคล ตลอดจนจำกัดสิทธิเสรีภาพ ของบุคคลได้ตามที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้
7. กฎหมายรัฐธรรมนูญ คือระเบียบว่าด้วยการใช้อำนาจรัฐหรืออำนาจอธิปไตย ด้วยเหตุนี้กฎหมายรัฐธรรมนูญจึงหมาย ถึงเป็นกฎเกณฑ์แบบแผนเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐว่ามีองค์กรอะไรบ้าง เช่น ประมุขแห่งรัฐ คณะรัฐมนตรี รัฐสภา ศาลเป็นต้น และองค์กรเหล่านั้นมีอำนาจหน้าที่อย่างไร มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน รวมทั้งตลอดถึงความสัมพันธ์กับประชาชนในฐานะเป็นพลเมืองของรัฐอย่างไรบ้าง สำหรับรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตยจะต้องรับรอง และประกันสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของประชาชนด้วย
8.ประมวลกฎหมาย คือ บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่รวบรวมกฎหมายในลักษณะ เดียวกันไว้เป็นระบบตามหลักวิชาการ เช่น ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลรัษฎากร
 
9.แถลงการณ์  คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำความเข้าใจ ในกิจการของทางราชการหรือเหตุการณ์หรือกรณีใด ๆ ให้ทราบ ชัดเจนโดยทั่วกัน. ก. อธิบายเหตุการณ์เป็นทางการ
10.ระเบียบ คือ แบบแผนที่วางไว้เป็นแนวปฏิบัติหรือดําเนินการ เช่น ระเบียบวินัย ระเบียบข้อบังคับ ต้องปฏิบัติ
แหล่งข้อมูล http://rirs3.royin.go.th